ศาสดา

ศาสดา.1

               คุรุนานัก (พ.ศ. 2012-2082) ศาสดาองค์ที่ 1 ได้ออกเผยแผ่ศาสนาซิกข์ทั่วทุกภาคของอินเดียทั้งได้ออกไปเผยแผ่ศาสนาถึงต่างประเทศ เช่น ศรีลังกา อาฟกานิสถานซาอุดิอารเบีย เป็นต้น อีกด้วยเพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมพยายามสอนคนให้เป็นผู้ครองเรือนที่ดี และตั้งมั่นในศาสนาของตนอีกทั้งได้วางแบบให้ชาวซิกข์ปฏิบัติ ได้แก่ สังคัตให้ชาวซิกข์มาประชุมพบปะกันในเวลาเย็น และปังคัต คือให้ชาวซิกข์มารับประทานอาหารร่วมกันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างกันต่างฝ่ายต่างช่วยตัวเองและช่วยเหลือกัน เช่นช่วยกันปัดกวาดทำความสะอาดสถานที่และล้างถ้วยชาม เป็นต้นไม่มีใครมีอภิสิทธิ์กว่ากันนอกจากนี้ยังได้ตั้งเมืองกรตารปุระในแคว้นปัญจาบอีกด้วย

ศาสดา 2
คุรุอังคัทเทพ (พ.ศ. 2047-2095) ศาสดาองค์ที่ 2 ได้ปรับปรุงและส่งเสริมอักขรวิธีคุรุมุขี สำหรับใช้ในศาสนาทั้งได้จัดตั้งโรงครัวทานแจกจ่ายอาหารแก่คนยากจนตลอดทั้งส่งเสริมหลักการสังคัตและปังคัตของคุรุนานักให้มั่นคงอีกด้วย

ศาสดา 3

คุรุอมรทาส (พ.ศ. 2022-2117) ศาสดาองค์ที่ 3 ได้จัดให้มีวัดซิกข์ (คุรุทวาร)ตามหมู่บ้านซิกข์ทั้งได้ปฏิรูปสังคมโดยคัดค้านการคลุมหน้าของสตรีและการกระโดดเข้ากองไฟเมื่อสามีตายที่เรียกว่าพิธีสติ และสอนว่าสตรีก็มีสิทธิที่จะหลุดพ้นจากกิเลสได้

ศาสดา 4

คุรุรามทาส (พ.ศ. 2077-2124) ศาสดาองค์ที่ 4 ได้จัดให้สร้างเมืองศูนย์กลางของศาสนาซิกข์ ขึ้นที่เมืองรามทาสปุระโดยให้ขุดสระน้ำขนาดใหญ่ขึ้นมาให้ชื่อว่า อมฤตสระ      (Immortal Pond) ทั้งได้ดำริจะสร้างวิหารขึ้นกลางสระน้ำด้วย

ศาสดา 5
คุรุอรชุนเทพ (พ.ศ. 2106-2149) ศาสดาองค์ที่ 5 ได้สร้างวิหารขึ้นกลางสระน้ำตามความประสงค์ของคุรุรามทาสโดยตั้งชื่อวิหารนี้ว่า หริมณเฑียร ต่อมาพระราชารัญชิตซิงห์ (พ.ศ. 2323-2342) แห่งแคว้นปัญจาบและศาสนิกได้รวบรวมทองคำตีแผ่หุ้มหริมณเฑียรจึงได้นามวิหารอีกนามหนึ่งว่า สุวรรณวิหาร (Golden Temple) ซึ่งงดงามมากเป็นศิลปกรรมชั้นเอกของโลกแห่งหนึ่ง สุวรรณวิหารจะมีประตูทางเข้าอยู่ 4 ประตูด้วยกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าศาสนสถานซิกข์ยินดีต้อนรับทุกคนไม่มีชนชั้นวรรณะนอกจากนี้คุรุอรชุนเทพยังได้รวบรวมศาสโนวาทของคุรุองค์ที่ 1 ถึงองค์ที่ 4 และของตัวท่านเอง ตลอดทั้งคำสอนของนักปราชญ์ในศาสนาอื่นที่สำคัญ คือรามนันทะ และกาบีร์ เข้าด้วยกันเป็นคัมภีร์เรียกว่าอาทิครันถ์ทั้งได้ออกระเบียบให้ซิกข์ทุกคนสละรายได้ 1 ใน 10 (ทศวันธ์)เข้าสมทบทุนกลางเพื่อใช้ในการกุศลต่อมาศาสดาองค์นี้ถูกพระเจ้าเยฮานคีร์สั่งให้ประหารชีวิตแต่ก่อนถูกจับมาประหารชีวิตท่านได้ประกาศให้ศาสนาซิกข์แยกตัวออกจากศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามประกาศว่าท่านไม่ใช่ฮินดูหรือมุสลิมประกาศไม่ให้ศาสนิกบำเพ็ญพรตอดอาหารอย่างทั้ง 2 ศาสนาไม่ยอมนมัสการร่วมกับฮินดู ไม่จาริกไปยังเมืองเมกกะไม่สวดมนต์ต่อหน้ารูปเคารพ และไม่สวดบทสวดของมุสลิม

ศาสดา 6
คุรุหริโควินท์ (พ.ศ. 2138-2188) ศาสดาองค์ที่ 6 ผู้เป็นบุตรของคุรุอรชุนเทพศาสดาผู้นี้เป็นองค์แรกที่สะพายดาบ และจัดตั้งกองทหารม้า 2,200 คนเนื่องจากถูกทางบ้านเมืองคุกคาม และแม้จะมีทหารม้าเพียง 2,200 คนแต่ก็สามารถเอาชนะกองทัพฝ่ายพระเจ้าชาหัชฮันได้ทุกครั้งและเนื่องจากสถานการณ์บังคับ จึงเป็นศาสดาองค์แรกที่ใช้ดาบสำหรับ    ปกปักษ์รักษาบ้านเมืองและศาสนาทั้งได้ใช้กาน้ำและดาบเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจทางโลกและทางธรรมรวมกันสัญลักษณ์นี้ได้ถือมาตลอดในหมู่ชาวซิกข์จนถึงปัจจุบัน

ศาสดา 7

คุรุหริชัย (พ.ศ. 2173-2204) ศาสดาองค์ที่ 7 ท่านผู้นี้ได้ส่งเสริมกองทหารม้าทั้งได้   ตั้งโรงพยาบาลตามจุดต่างๆ อีกทั้งขยายโรงครัวทานอีกด้วยศาสดาผู้นี้มีเมตตาจิตสูง ชอบช่วยเหลือคนยากจน และทำให้ภคัทภควันนักบวชฮินดูเปลี่ยนมานับถือศาสนาฮินดูอีกด้วย

คุรุหริกริษัน (พ.ศ. 2199-2207) ศาสดาองค์ที่ 8 ท่านได้รับสถาปนาเป็นศาสดาเมื่อมีอายุเพียง 5 ปี 6 เดือนเท่านั้น ข้อนี้แสดงว่าอายุน้อยไม่จำเป็นต้องมีความสามารถน้อยเสมอไปโดยเฉพาะเรื่องจิตใจ อย่างเช่นพราหมณ์คนหนึ่งมาลองดีท้าโต้วาทีกันคุรุหริกริซันให้พราหมณ์ผู้นั้นไปพาใครมาก็ได้แล้วท่านจะให้ผู้นั้นเป็นตัวแทนโต้วาทีกับพราหมณ์พราหมณ์นั้นจึงได้นำศูทรคนหนึ่งชื่อ ชัจจู ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าโง่เขลาเป็นที่สุดมาให้คุรุหริกรซัน ได้ใช้ไม้เท้าของท่านแตะที่ตัวศูทรคนนั้นแล้วพูดว่า ชัจจูเจ้าจงเป็นบัณฑิตจงเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแปลภควัทคีตาจงตอบคำถามของพราหมณ์ผู้นี้ เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าชัจจูกลายเป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาดขึ้นมาทันทีโต้ตอบกับพราหมณ์ได้เป็นอย่างดีศาสดา 8
คุรุเตฆบาหาทุร (พ.ศ. 2164-2218) ศาสดาองค์ที่ 9 ท่านได้ออกเผยแผ่ศาสนาทั่วทุกภาคในอินเดียเจริญรอยตามคุรุนานักทั้งได้ช่วยหย่าศึกทัพหลวงจากกรุงเดลฮีกับทัพของราชาธิบดีรามรัยแห่งไทยอาหม (พ.ศ. 2212) ได้สำเร็จ แต่บั้นปลายถูกพระเจ้าออรังเซบประหารชีวิต

ศาสดา 10

คุรุโควินทสิงห์ (พ.ศ. 2209-2251) ศาสดาองค์ที่ 10 ซึ่งเป็นบุตรชายของคุรุองค์ที่ 9 ท่านเป็นศาสดาเมื่ออายุได้ 9 ปีศาสดาผู้นี้ได้รับการศึกษาอย่างดีรู้หลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ สันสกฤตและเปอร์เซีย เป็นต้น ท่านเป็นกวี เป็นนักรบและนักปกครองอย่างเช่นท่านได้จัดระบบป้องกันเมืองอานันทปุระจากการถูกโจมตีได้สำเร็จท่านได้ปฏิวัติจิตใจชาวซิกข์ให้กล้าหาญทั้งได้บัญญัติกฎระเบียบให้ชาวซิกข์ปฏิบัติ เช่น ไม่ให้โกนผมโกนหนวดเคราตลอดชีวิต เป็นต้นจะได้แตกต่างจากคนทั่วไป จะทำให้ชาวซิกข์ผนึกกำลังต่อสู้กับศัตรูและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คุรุโควินทสิงห์สอนว่าอำนาจและธรรมเป็นของคู่กันหากมีแต่ธรรมไม่มีอำนาจรองรับก็ไม่มีประสิทธิผล ขาดการป้องกันรักษาและอำนาจที่ปราศจากธรรมก็เป็นทารุณกรรมนอกจากนี้ท่านยังได้แต่งคัมภีร์ขึ้นอีกคัมภีร์หนึ่งโดยรวบรวมคำสอนของคุรุที่ผ่านมาบางท่าน และของท่านเองเข้าด้วยกันเรียกว่าคัมภีร์ทสมครัมถ์ ศาสดาองค์นี้เป็นองค์สุดท้ายเพราะก่อนสิ้นชีวิตท่านไม่ได้แต่งตั้งใครแทน โดยให้คัมภีร์ ครัมถสาหิบเป็นศาสดาแทนและหลังจากคุรุองค์ที่ 10 แล้วศาสนาซิกข์ก็เจริญบ้างเสื่อมบ้างตามแต่ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองจะพึงเห็นอย่างไร แต่ส่วนใหญ่ก็ค่อยเจริญมาตามลำดับจนมีศาสนิกมากกว่าศาสนิกศาสนาเชนและโซโรอัสเตอร์ รวมกันเสียอีกด้วย

Leave a comment